ผู้ใหญ่ก็เป็นโรคสมาธิสั้นได้

ผู้ใหญ่สมาธืสั้น

สมาธิสั้นในผู้ใหญ่

สมาธิสั้น ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉพาะกับเด็กหรือพบได้เฉพาะในวัยเด็กเท่านั้น ปัจจุบันพบว่า วัยรุ่น/วัยหนุ่มสาวหรือวัยผู้ใหญ่หลายๆ คนมีปัญหานี้ ทำให้ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ลักษณะต่อไปนี้จะช่วยบ่งชี้ว่า สมาธิสั้นในวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวหรือในวัยผู้ใหญ่เป็นอย่างไร?

มีประวัติบ่งชี้ว่า มีสมาธิสั้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เช่น ตอนเล็กๆ มีพฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่ตั้งใจเรียน หงุดหงิดโมโหง่าย วอกแวก เรียนหนังสือไม่ดี ฯลฯ และไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง

จึงทำให้อาการยังคงปรากฏอยู่ ไม่มากก็น้อย (มีจำนวนประมาณ 40%) โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์ บางคนยังคงรับประทานยาและบางคนก็ไม่ได้รับประทานยา ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการ ส่วนอีกพวกอาการจะแย่มากขึ้น (มีจำนวนประมาณ 30%) ถึงขั้นประพฤติผิดกฏหมายทุกรูปแบบ สามารถสร้างความรุนแรงให้สังคมได้ถึง 50% ของความรุนแรงที่เกิดขึ้น สมาธิสั้นในผู้ใหญ่มีอาการดังนี้

– ใจร้อน โผงผาง
– อารมณ์ขึ้นลงเร็ว โกรธง่าย หายเร็ว มักมีเรื่องรุนแรงกับบุคคลที่ตนไม่พอใจ
– หุนหัน พลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่คิดก่อนทำ ทำตามใจชอบ
– ทนกับความเครียดหรือสิ่งที่ทำให้คับข้องใจได้น้อย
– วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิระหว่างการเรียนขั้นอาชีวศึกษาหรือขั้นอุดมศึกษาหรือในการทำงาน
– รอคอยอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้
– มักจะทำงานหลายๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จแม้แต่ชิ้นเดียว
– ไม่รู้จักแบ่งเวลา ขาดความสามารถในการบริหารจัดการเวลาที่ดี
– ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง
– นั่งอยู่นิ่งๆ ไม่ได้นาน ชอบเขย่าขาหรือลุกเดินบ่อยๆ หรือพูดโทรศัพท์มือถือ แม้ในขณะขับรถโดยไม่เกรงกลัวอุบัติเหตุ
– เบื่อง่าย หรือ ต้องการสิ่งเร้าอยู่เสมอ
– ไม่มีระเบียบ ห้องหรือบ้านรกรุงรัง
– เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดจากความสะเพร่า ไม่เอาใจใส่ หรือ มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา
– มาสาย ผิดนัด หรือ ลืมทำเรื่องสำคัญๆ อยู่เสมอหรือเคร่งครัดเฉพาะเรื่องที่ตนชอบเท่านั้น
– มีปัญหากับบุคคลรอบข้าง เช่น สามี หรือ ภรรยา (บางครั้งถึงขั้นลงมือลงไม้) ญาติพี่น้อง หัวหน้าหรือผู้ร่วมงานบ่อยๆ

วิธีรักษา :
– ปรีกษาจิตแพทย์ผู้ใหญ่ ของโรคสมาธิสั้น
– พบนักจิตวิทยาและเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
– ยอมรับความเป็นจริง
– ทำงานที่ถนัดที่สุดและเหมาะสมที่สุด
– พยายามคิดในทางบวก
– หาเพื่อนที่เข้าใจ

รู้อย่างงี้แล้วหนาวเลยครับ หลายครั้งที่ผู้ใหญ่อาจมาลงที่ลูก จนบางทีต้องมาคิดดูนะครับว่า เราเป็นสามาธิสั้นหรือลูกเป็นกันแน่ครับ!?! 

ขอบคุณข้อมูล : ชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย

(Visited 156 times, 1 visits today)

Leave a Reply